ผมในฐานะที่เคยรับราชการเป็นผู้บริหารงานเกี่ยวกับด้านช่าง ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติงานด้านนี้มาก่อนขอแนะนำดังนี้ครับ
1. เอกสารต้องครบก่อนครับ แบบแปลน 5 ชุดและผังบริเวณ แบบขออนุญาต ข.1 สำเนาเอกสารสิทธิที่ดิน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน รายการคำนวณ และเอกสารของผู้ควบคุมงาน
2. กรณีบ้านพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น เจ้าของบ้านเป็นผู้ควบคุมงานเองได้ และจะมีหรือไม่มีรายการคำนวณก็ได้
3. สาระสำคัญที่ตรวจคือ รูปแบบทางสถาปัตยกรรม ระยะร่น สัดส่วนความสูง ประตูหน้าต่าง การป้องกันไฟ ฯลฯ และอาคารหรือกิจการที่คุณขออนุญาตก่อสร้าง จะต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
หลักๆคือ พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะบังคับใช้ในเขตที่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้บังคับ รวมทั้งกฏกระทรวงที่ออกตาม พรบ. ดังกล่าว และเขตที่มีกฏกระทรวงผังเมืองรวมบังคับ
จะใช้ พรบ.ควบคุมอาคารบังคับโดยอัตโนมัติ เว้นแต่จะเป็นอาคารใหญ่พิเศษหรืออาคารสูงจะบังคับใช้ทุกแห่งจะมีขอยกเว้นให้สำหรัฐอาคารรัฐบาล ส่วนราชการ ฯ ซึ่งรายละเอียดอยู่ในกฎหมายอยู่แล้ว
และพื้นที่บางแห่งอาจมีข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือเทศบัญญัติบังคับใช้ในขั้นตอนรายละเอียดเพิ่มเติมจากกฎกระทรวงก็ได้ ต้องศึกษาตรงนี้ให้ครบนะครับ รายละเอียดทั้งหมดดูได้จากเว็บไซต์สำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา ในหมวดพระราชบัญญัติ หมวด ค. (ควบคุมอาคาร) หรืออีกแห่งก็คือเว็บของราชกิจจานุเบกษาแต่จะหายากหน่อย
จำไว้นะครับต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหัวใจอยู่ตรงนี้ครับ4. สำหรับรายการคำนวณเจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิตรวจครับ ถือเป็นความรับผิดส่วนบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพ อันนี้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรับผิดชอบตัวเองนะครับ
5. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 20 บาท ครับ ค่าธรรมเนียมตรวจแบบตามประเภทอาคารอัตราตามกฎกระทรวงครับ
6. ศึกษาข้อกฎหมายของท้องที่ให้ดีก่อนครับ จะได้ไม่เสียเวลาไม่งั้นเสียชื่อแย่ เขาจะบอกว่าไม่ใช่มืออาชีพ