หลังจากที่ห่างหายกันไปนาน(มากส์ เพราะงานยุ่ง) มาต่อกันเลยครับ ผมจะใช้รูปที่เห็นอยู่ด้านบนที่ ประกอบการบรรยายนะครับ (ดูตามตัวเลขกำกับที่ทำเอาไว้) ที่กรอบสีแดงทั้งหมดที่มีตัวเลขกำกับ ผมตั้งใจจะแสดงให้เห็นว่าในตัวโปรแกรมประกอบไปด้วยโมดูลอะไรบ้าง และแต่ละตัวมันทำอะไรบ้าง
ไล่ตามกลุ่มนะครับ (ซึ่งในตัวโปรแกรมจะเรียกว่า “โมดูล”) แล้วค่อยเข้าบรรยายทีละโมดูลว่าเนื้อในเป็นไง
กลุ่มที่ 1 (ดูที่กรอบเลขหนึ่ง) RAM Modeler ตามชื่อเลยครับเอาไว้เขียนโมเดล และใส่โหลด ซึ่งผมขอนิยามมันว่า “โปรแกรมวาดรูปที่สามารถออกแบบได้” (ฟังดูดีป่าว ) แบบว่าอะไรที่วาดได้ในนี้มันก็สามารถออกแบบได้หมด (ยกเว้น พื้น , จุดต่อ ซึ่งจะต้องใช้ RAM ConCept และ RAM Connection ตามลำดับออกแบบให้) ที่มันวาดได้ก็เช่น โครงหลังคา เสา พื้น คาน ผนังรับแรงเฉือน ฐานรากแบบต่างๆ (เดี๋ยวขยายอีกที) ค้ำยัน และอื่นๆที่นึกไม่ออก
กลุ่มที่ 2 ( ดูกรอบที่สอง) RAM Steel Design เอาไว้ออกแบบเหล็ก และหรือเอาไว้ให้มันเลือกหน้าตัดเหล็กให้ ( แบบว่าขี้เกียจใส่หน้าตัดเอง ) แต่ถ้าใส่หน้าตัดเองก็ให้ข้ามโมดูลนี้ไปเลย
กลุ่มที่ 3 ( ดูกรอบที่ 5 ,6 ) RAM Frame Analysis โมดูลนี้เอาไว้ใส่โหลดเคสครับ เพื่อวิเคราะห์แรงที่เกิดขึ้น (ทั้ง Gravity และ Lateral ) และมันก็ยัง check Code ให้ด้วยสำหรับโครงสร้างเหล็ก ตามมาตรฐานต่างๆ (ที่มีอยู่แล้ว รอให้เราเลือก ) เช่นระยะค้ำยัน ปีกบนล่างพอเพียงหรือไม่ และอื่นๆ เช็ค Code ที่จุดต่อ และอื่นๆที่นึกไม่ออก (อีกแล้ว)
มีวิเคราะห์ทั้ง Static และ Dynamic
กลุ่มที่ 4 ( ดูกรอบที่ 7 ) Drift Control เอาไว้ตรวจสอบโครงสร้าง ถึงการมีส่วนร่วมในการต้านการเคลื่อนที่ว่ามีมากน้อยยังไง โดยดูจาก โปรไฟล์สี (โดยรวม) และดูทีละตัวก็ได้ถ้าไม่ขี้เกียจ
กลุ่มที่ 5 (ดู กรอบที่ 4 ) RAM Concrete ตามชื่อครับ ออกแบบคอนกรีต ใส่เหล็ก , Check Code นั่นนู่นนี้เต็มไปหมด (มันก็ออกแบบชิ้นส่วนที่เป็นคอนกรีตทั้งหมดแหละครับจกเว้น พื้น และฐานราก)
กลุ่มที่ 6 (ดูกรอบที่ 3) RAM Foundation ออกแบบฐานรากครับ มีทั้งแบบฐานแผ่ , ฐานวางบนเข็ม , แบบต่อเนื่อง (ยกเว้น Mat Foundation ที่มีพฤติกรรมแบบพื้น ต้องพึ่ง RAM ConCept ครับ)
นี่คือภาพรวมของ RAM Structural System ว่ามันทำไรได้บ้าง ต่อไปมาเจาะกันในแต่ละส่วนกันเลย และเพื่อให้เขียนง่าย และเข้าใจได้ง่ายในการใช้งานโปรแกรม ผมจะขอเรียกกลุ่มของ ไอ้กรอบสีแดงๆที่เขียนไว้ด้านบน ด้วยคำว่า (“โมดูล”) นะครับ
เริ่มกันที่โมดูลแรกสุดๆ RAM Modeler ดูรูปกันก่อนครับ เข้าใจว่า (เข้าใจเอาเอง) รูป + คำอธิบาย น่าจะทำให้น่าเบื่อน้อยกว่าตัวหนังสือล้วนๆ
รูปแรก แปลนชั้นแรกครับ จะเห็นได้ว่าผมเขียนทุกอย่างลงบน Plan นะครับ (ย้ำ Plan) คือไม่ต้องไปเชื่อมต่อชิ้นส่วนในระนาบ 3 มิติ ให้ยุ่งยาก เขียนมันลงบน Plan แบบนี้แหละ และใช้มันเป็น “ฐานข้อมูล” กล่าวคือ ถ้าโครงสร้างของเพื่อนๆ มีซัก 88 ชั้น (เวอร์เข้าไว้เพื่อให้เห็นภาพ) ก็ไม่ต้องเขียนโมเดลทั้ง 88 ชั้น เขียนแค่ชั้นเดียวตามรูป (ขอเรียกว่าชั้น 1X) และค่อยกำหนดให้ทั้ง 88 ชั้นใช้ข้อมูลของชั้น 1x แค่นั้นก็จบ ที่เหลือจะแก้อะไรก็มาแก้ในฐานข้อมูลครับที่เหลือเปลี่ยนตามหมด หรือประยุกต์แก้เป็นชั้นก็ได้ตามแต่ใจคุณต้องการ (เดี๋ยวค่อยเอารูปให้ดูจะได้เห็นภาพ )
ข้อดีของมันที่ผมคิดออก (ไม่รู้โปรแกรมอื่นเป็นไงเหมือนกัน รอเพื่อนๆมาแชร์กัน) คือ เขียนโมเดลอยู่บนแปลนเป็นหลัก (แก้ใน 3 D ได้) แบบที่เราคุ้นเคยจากแบบแปลน 2 D ที่ได้จาก สถาปนิกนั่นแหละครับ ได้มาก็เอามาเขียนตาม และก็ใส่ Load และก็กำหนดชั้นโครงสร้างที่จะใช้ฐานข้อมูลนี้ว่าเป็นชั้นอะไรบ้าง และก็จบแระ ได้โมเดลพร้อมออกแบบเป็นที่เรียบร้อย
ข้างบนที่เห็นโครงสร้างที่ทำ Model เสร็จแล้ว และที่เห็นเนี่ยสร้างมาจาก Plan
ส่วนนี่มุมมองจากด้านล่าง ของโมเดลที่สร้างขี้น (รูปสวยดีนะ)
จะยกตัวอย่างนะครับ สมมุติโครงสร้างอาคาร 35 ชั้น มีลิฟท์ คิดซะว่าเป็นโรงแรม มีรายละเอียดแต่ละชั้นดังนี้
1.) ชั้นแรก ล็อบบี้ เป็นพื้นสองทาง (ไร้คาน) ภายในเปิดโล่ง
2.) ชั้นที่สอง เป็นชั้นสำนักงาน เป็นพื้นทางเดียว มีคานซอยทุกช่วง
3.) ชั้นที่ 3 – 35 เป็นชั้นที่พักของแขก มีรายละเอียดห้องเหมือนกันทุกชั้น
4.) หลังคา (หรือดาดฟ้าครับ)
จากรายการข้างบน ถ้าผมจะสร้างโมเดลผมก็แค่ สร้างฐานข้อมูลขั้นมา 4 แบบเองครับ(ตามหัวข้อครับ) ด้านบนจะได้ตามรูปด้านล่าง (อันนี้แก้จากด้านบนเพียง 1 นาที)
ทำเสร็จมันก็จะกลายร่างออกมาเป็นโครงสร้างแบบ 3 มิติเอง แบบท่พร้อมจะนำไปออกแบบหรือดำเนินการในโมดูลอื่นต่อไป อ้อ ลืมบอกไป Model ข้างบนตามรูปใช้วัสดุสองชนิดรวมกันนะครับ คือมีทัง คอนกรีต และเหล็ก(ที่บอกว่ามันเลือกหน้าตัดให้)
สรุป สำหรับการใช้งานโมดูลนี้คือ เพื่อสร้างโมเดลขึ้นมาตามแบบแปลนได้โดยง่าย เช่น เสาคานพื้น , โครงFrame , Shear Wall , และ... ( มันคือโปรแกรมวาดรูป ) ใส่ Load , Mass , ถ้าขยันก็ใส่หน้าตัดเหล็กด้วยก็ได้ (แต่ผมมักจะขี้เกียจเลยไม่ใส่ ค่อยให้มันเลือกให้เอง)
(ว่างๆ จะเริ่มโมดูลอื่นอีกโดยไว แต่ตอนนี้ขอไปทำงานก่อน)