ผมขอมองในมุมเศรฐศาสตร์ครับ "ดีมานดกับซัพพลาย"

ไม่ขอยกตัวอย่างเป็นวิศวกร แต่ขอเป็นอะไรที่ง่ายๆอย่างโทรศัพท์มือถือดีกว่าครับ เข้าใจง่ายดี

10 ปีที่แล้ว คนที่มีปัญญาซื้อโทรศัพท์ ต้องเป็นคนที่มีฐานะพอสมควร เพราะราคามันหลายหมื่น หรือบางเครื่องอาจจะเป็นราคาหลักแสน

แต่หลังจากนั้นเมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้น ก็เลยไม่จำเป็นว่าจะต้อง Nokia หรือ Moto. แต่กลับมียี่ห้อโนเนมเริ่มผุดขึ้นมา บางยี่ห้อก็ใส่ใจในคุณภาพ บางยี่ห้อก็เน้นเรื่องราคา ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกส่งมาแข่งขันในตลาดเหมือนกัน โดยต่างฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์เด็ด บางยี่ห้อบอกว่าดูทีวีได้ ต่อเน็ตได้ แต่ราคาหลักพัน แต่เมื่อเทียบกับอีกอัน ดูทีวีไม่ได้ ต่อเน็ตได้อย่างเดียว แต่ราคากลับแพงกว่าหลายเท่าตัว ซึ่งก็กลายมาเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการแข่งขันทางด้านของราคา เพราะตราบใดที่ไม่ลดราคาหวังเพิ่งแต่ตลาดในกลุ่มของตนเอง ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นตลาดที่เล็กเมื่อเทียบกับตลาดของผู้ใช้ทั้งหมด (ไม่ได้พากพิงแอปเปิ้ลเด้อ) แต่ถ้ารายใหญ่ไม่ยอมลด มันก็ไม่ใช่ปัญหาที่น่าหนักใจของรายใหญ่เท่าไหร่นัก เพราะแฟนพันธ์แท้ที่กล่าวมาในข้างต้นก็ยังอุดหนุนอยู่นั่นเอง แต่สำหรับรายเล็กมันไม่ใช่แบบนั้นซึ่งเล่นตัวได้ไม่มากนัก ตราบใดที่ไม่เจ๋งจริง ก็อย่าหวังว่าจะได้ยอดขายถล่มทลาย
ในส่วนนี้ผมว่า "เวลา" จะเป็นเครื่องพิสูจน์คุณภาพของโทรศัพท์ ว่าใช้ดีไม่ดีอย่างไร มีฟีดแบ็คอะไรไปที่ผู้ผลิตบ้าง ซึ่งผู้ผลิตเองก็ต้องนำฟีดแบ็คนั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เพราะถ้าไม่ยอมแก้ไข สักวันหนึ่งมันก็จะ "ขายไม่ออก" และต้องปิดกิจการในที่สุด

ปล.ทั้งหมดที่ผมกล่าวมา เกิดจากความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ได้มีเจตนาพาดพิงองค์กรใดองค์กรหนึ่งเพื่อให้เกิดความเสื่อมเสีย หากมีความผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ